โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) อีกหนึ่งกลุ่มโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตเพศหญิงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยในประเทศไทยมีผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง เต้านม แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยประมาณ 6,000 – 8,000 คน และมีอัตราเสียชีวิตเฉลี่ย 8 – 10 คนต่อวัน (ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสชนิด Human Papilloma Virus (ฮิวแมน แปปปิโลมา ไวรัส) หรือ HPV ซึ่งมักติดต่อได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ โดยเชื้อดังกล่าวอาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอดเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสจะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
1. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนหลายคน
2. มีโอกาสพบมากผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ทั้งนี้ในผู้หญิงอายุน้อยก็มีโอกาสพบได้เช่นกัน
3. สูบบุหรี่เป็นประจำ
4. ผู้ที่มีภูมิคุ้นกันต่ำ หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ และโรคซิฟิลิส เป็นต้น
5. ผู้ที่ยังไม่เคยรับการตรวจภายในเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
6. เคยคลอดบุตรมากกว่า 3 คน
7. ผู้หญิงที่เคยมีประวัติทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเกิน 5 ปี

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก
โดยปกติโรคมะเร็งปากมดลูกมักจะไม่แสดงอาการในระยะแรกเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงจาเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคต่อไป
1. เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว
2. ปวดท้องน้อย และบริเวณหัวหน่าว
3. ประจำเดือนมาไม่ปกติ
4. เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
5. มีตกขาวผิดปกติ เช่น ปริมาณมากขึ้น มีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดปน
6. ปัสสาวะ หรืออุจจาระมีเลือดปน
7. ปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดบวม
8. ปวดหลัง ขาบวม ไตวาย (กรณีที่มะเร็งมีระยะลุกลามรุนแรง)
9. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร
10. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูกจะแบ่งระยะของอาการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ระยะก่อนมะเร็ง และระยะลุกลาม ดังนี้
1. ระยะก่อนมะเร็ง โดยในระยะนี้เซลล์มะเร็งยังอยู่ภายในชั้นเยื่อบุผิวปากมดลูก ไม่ลุกลามเข้าไปในเนื้อปากมดลูก ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติของโรคแต่สามารถตรวจหาเซลล์มะเร็งได้โดยการตรวจคัดกรองทางเซลล์วิทยา หรือตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear)
2.ระยะลุกลาม แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 มะเร็งลุกลามอยู่ภายในปากมดลูก
ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างปากมดลูก หรือผนังช่องคลอดส่วนบน
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามไปยังด้านข้างของเชิงกราน หรือผนังช่องคลอดส่วนล่าง หรือกดท่อไตจนเกิดภาวะไตบวมน้า
ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง รวมถึงอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด กระดูก และต่อมน้ำเหลืองนอกเชิงกราน เป็นต้น
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
1. การตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบแปปเสมียร์ (Conventional PAP Smear) เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกแบบดั้งเดิม มีวิธีการตรวจโดยแพทย์จะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก แล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
2. การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pathtezt เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกที่พัฒนามาจากวิธี Pap Smear สามารถลดการปนเปื้อน และช่วยในการ
ตรวจเซลล์ได้ชัดเจนขึ้น โดยวิธีการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยากำจัดมูกเลือด ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
3. การตรวจหาเชื้อเอชพีวี (HPV DNA Test) เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ระดับ DNA ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจระดับชีวโมเลกุลที่สามารถค้นหาเชื้อ HPV ได้ในระยะก่อนที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกทำให้สามารถป้องกันและรักษาได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก
4. การตรวจแบบภาพเหมือนจริง (imaging tests) เช่น การตรวจด้วยเอกซ์เรย์ (X-ray) การตรวจ CT scan การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการใช้ PET Scan ที่จะช่วยระบุระดับการลุกลามของมะเร็งต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ