โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลัง เช่น ไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ซึ่งสังเกตได้ถึงอาการอักเสบและบวมในบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ มีไข้ สามารถพบอาการของโรค ได้ทุกวัย และบางชนิดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง
นอกจากนี้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดโรคได้ นั่นคือ พยาธิ เรียกว่า โรคเชื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilia Meningitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อหนอนพยาธิปอดหนูหรือพยาธิหอยโข่ง พยาธิตัวจิ๊ด และซีสต์ของพยาธิตืดหมูในระบบประสาท ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับเชื้อดังกล่าวแล้ว กว่าร้อยละ 90 มักเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบภายหลังจากได้รับพยาธิดังกล่าว เข้าสู่ร่างกาย
อีกทั้งสาเหตุอื่นๆ ที่อาจมีโอกาสเป็นสาเหตุในการพบโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบได้ เช่น เนื้องอกในสมองบางชนิด การแพ้ยา การผ่าตัดใส่อุปกรณ์บางชนิดไว้ในสมอง เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โดยปกติแล้วโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดได้จาก 5 สาเหตุหลัก ดังนี้
1. จากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุการเกิดโรคที่อันตรายที่สุดซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะทุพลภาพหรือเสียชีวิตได้
2. จากการติดเชื้อไวรัส อาการไม่รุนแรงเท่าการติดเชื้อจากแบคทีเรีย โดยมีโอกาสเกิดขึ้นหลังจากพบอาการไข้หวัดและหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน
3. รับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ที่มีโอกาสพบตัวอ่อนของพยาธิซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคเยื่อ หุ้มสมองอักเสบจากพยาธิได้
4. โรควัณโรค ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อระบบประสาทได้
5. จากการติดเชื้อรา โดยเกิดจากการที่ผู้ป่วยสัมผัสกับแหล่งเชื้อรา เช่น มูลของนกพิราบ เป็นต้น
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เบื้องต้นอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยมักจะแสดงอาการมาดขึ้นเมื่อผ่านไปหลายชั่วโมงหรือหลายวันแล้ว โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้
1. คอแข็ง ไม่สามารถขยับคอได้
2. ไข้ขึ้นสูงฉับพลัน
3. ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
4. มีอาการชักเกร็ง
5. ดวงตาแพ้แสงหรือไวต่อแสงมากกว่าปกติ
6. มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
7. เบื่ออาหาร
8. ง่วงนอนตลอดเวลา หรือหากหลับแล้วจะตื่นนอนยาก
นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 1 เดือน โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
1. ร้องไห้ตลอดเวลา
2. มีไข้ขึ้นสูง
3. ตัวและลำคอแข็ง
4. นอนหลับมากกว่าปกติ หรือมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย
5. เฉื่อยชา เคลื่อนไหวน้อย
6. ดื่มนมได้น้อยลงกว่าปกติ
แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โดยปกติแพทย์มักจะซักประวัติเพื่อประเมินอาการของโรคในเบื้องต้น รวมถึงสืบถามพฤติกรรม สภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตเพื่อหาสาเหตุของโรค และการตรวจวินิจฉัยโรคโดยเทคโนโยลีทางการแพทย์ ได้ 2 วิธี ดังนี้
1. การเจาะไขสันหลัง ซึ่งหากแพทย์ประเมินแล้วสงสัยว่าอาจจะมีการติดเชื้อที่ระบบประสาท มักจะทำการเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อนาไปตรวจทางแล็ปวิทยาเพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษา แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องประเมินภาวะที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยด้วย ซึ่งการเจาะไขสันหลังจะสามารถทาได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง ติดเชื้อบริเวณที่ผิวหนังที่จะเจาะไขสันหลัง มีความเสี่ยงต่อการเลือดออกไม่หยุด หรือผู้ป่วยที่มีอาการชักอย่างต่อเนื่อง
2.การตรวจภาพสมองโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่จำเป็นต้องตรวจโดยวิธีนี้ก่อน แต่แพทย์เจ้าของไขสามารถทำการเจาะ ไขสันหลังหากพบผู้ป่วยในกรณีดังนี้
– ผู้ป่วยที่สูญเสียการทำงานของสมองเฉพาะส่วน
– ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง หรือแสดงอาการสูญเสียการทางาน ของก้านสมอง
– ผู้ป่วยที่สูญเสียสติการรับรู้ระดับรุนแรง ทำให้ไม่สามารถตรวจประเมินร่างกาย ในเบื้องต้นได้อย่างชัดเจน
– ผู้ป่วยที่มีอาการชักเกร็งเฉพาะจุด
ข้อมูลอ้างอิง:
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis (Unspecified))”
แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=101
วานิช รุ่งราม “การระบาดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ จังหวัดกาฬสินธุ์” (2562)
แหล่งที่มา https://appksn.moph.go.th/ethics/web/uploads/
a554ac78a74006c8f51dbc2b6e127c8a.pdf