โรคตับแข็ง
โรคตับแข็ง (Cirrhosis) คือ ภาวะที่เกิดการก่อตัวของเนื้อเยื่อพังผืดส่วนเกินจากภาวะตับอักเสบเรื้อรัง เนื่องจากการซ่อมแซมตัวเองจนเกิดการสร้างพังผืดสะสมจนเกิดเป็นโรคตับแข็งนั่นเอง
สาเหตุของโรคตับแข็ง
โรคตับแข็งมักเกิดจากอาการป่วยเรื้อรังด้วยโรคอื่นๆ มาก่อน เช่น
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคไขมันคั่งตับ ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์
- โรคเชื้อไวรัสตับอักเสบ B, C และ D
- โรคประจำตัว เช่น โรควิลสัน โรคซิสติกไฟโบรซิส ภาวะดีซ่านจากท่อน้ำดีอุดตัน ภาวะตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง เป็นต้น
หรือจากพฤติกรรมการบริโภคหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
- การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- บริโภคอาหารประเภทของทอดและของมันเป็นประจำ มีโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะไขมันคั่งตับ
ซึ่งมักพบได้มากผู้ป่วยโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน - บริโภคอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) มักพบในอาหารแห้งที่มีการแปรรูปและ
เก็บรักษาอย่างไม่ถูกวิธี เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กุ้งแห้ง ผักและผลไม้
แปรรูป เป็นต้น - การได้รับสารพิษที่มีผลต่อตับ เช่น การรับประทานยาบางชนิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
อาการของโรคตับแข็ง
โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการที่บ่งชี้ความเป็นโรคตับแข็งอย่างชัดเจน มักเป็นอาการ
ที่เกิดร่วมกับภาวะตับอักเสบอื่นๆ และจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อตับได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงแล้ว
ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- ตัวเหลือง ภาวะดีซ่าน ตาเหลือง มีปัสสาวะสีเข้ม
- น้ำหนักตัวลดลง
- มีสีผิวเข้มขึ้น
- รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
- มีอาการ ขา เท้า หรือข้อเท้าบวม
- มีอาการคันตามผิวหนัง
- ฝ่ามือแดงเป็นจ้ำทั้งสองข้าง
- ผู้ชาย อาจพบภาวะผิดปกติทางเพศ ลูกอัณฑะฝ่อ หรือเต้านมบวมโต
- ผู้หญิง อาจพบภาวะการหมดประจำเดือนหรือประจำเดือนขาด หรือมาไม่สม่ำเสมอก่อนวัยหมดประจำเดือน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง
- มีอาการท้องบวม ซึ่งเกิดจากภาวะน้ำสะสมในช่องท้องหรือภาวะท้องมาน
- ติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมักมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ไม่สามารถต้าน
การติดเชื้อได้ ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว - เกิดการพร่องโภชนาการ เนื่องจากดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง สังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่ลดลงและมีอาการอ่อนเพลีย
- เกิดภาวะไตวายจากโรคตับแข็ง เมื่อตับเกิดการเสื่อมสภาพส่งผลให้เกิด ‘ไนตริกออกไซด์’
ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ดีในเซลล์ แต่หากมีสารชนิดนี้มากเกินไปจะส่งผลเสีย
ต่อระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการบีบตัวของเส้นเลือด ซึ่งกระทบโดยตรงต่อเลือดที่ไปเลี้ยงไตได้น้อยลง
ทำให้เกิดภาวะไตวายขึ้น - เกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย เนื่องจากตับเสียหายไม่สามารถกำจัดสารพิษออกจากเลือดได้ โดยจะสังเกตจากการที่ปัสสาวจะมีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ
- โรคกระดูก ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะมีโอกาสพบภาวะโรคกระดูกเนื่องจากความหนาแน่น
ของมวลกระดูกลดลง ซึ่งส่งผลให้กระดูกแตกหักได้สูงขึ้น - โรคมะเร็งตับ
การวินิจฉัยโรคตับแข็ง
โดยปกติแพทย์มักจะซักประวัติเพื่อประเมินอาการของโรคในเบื้องต้น รวมถึงสืบถามพฤติกรรม สภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตเพื่อหาสาเหตุของโรค และการตรวจวินิจฉัยโรคโดยเทคโนโยลีทางการแพทย์
ได้ 3 วิธีที่นิยม ดังนี้
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาร่องรอยความผิดปกติของตับ เช่น ระดับบิลิรูบิน
ในเลือดเพื่อวินิจฉัยอาการดีซ่าน เอ็นไซน์ตับชนิดต่างๆ เพื่อคัดกรองไวรัสตับอักเสบ การแข็งตัว
ของเลือด ปริมาณโปรตีนไขขาวในเลือด เพื่อดูความสามารถในการสังเคราะห์โปรตีนของตับ ซึ่งผลการตรวจเลือดจะมีส่วนช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคได้ - การตรวจภาพสมองโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
(CT Scan) เพื่อดูรูปร่างของตับ ความยืดหยุ่นของตับเพื่อวินิจฉัยลักษณะของตับแข็ง - การตรวจวัดปริมาณพังผืดในตับ เป็นการตรวจระดับความแข็งของตับซึ่งจะบ่งบอกถึงปริมาณการสะสมของพังผืด สามารถตรวจหาภาวะตับแข็งได้ตั้งแต่ในระยะแรก อีกทั้งยังสามารถตรวจหาปริมาณไขมันในตับได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจชิ้นเนื้อ แต่ในปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยมเนื่องจากมีเทคโนโลยี
ทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นและมีความแม่นยำยิ่งกว่า จึงทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคตับแข็งได้
โดยไม่จำเป็นต้องเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อนำไปตรวจทางแล็ปวิทยา แต่ทั้งหากในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายไม่ได้สามารถระบุสาเหตุการเกิดโรคตับแข็งได้ ก็อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการนี้เพื่อตรวจคัดกรองอยู่เช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิง:
MedPark Hospital “โรคตับแข็ง” (2566) [ระบบออนไลน์]
แหล่งที่มา https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/cirrhosis-2
โรงพยาบาลสมิติเวช “ตับแข็ง และภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย” (2566) [ระบบออนไลน์]
แหล่งที่มา https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ตับแข็ง