โควิดสายพันธุ์ JN.1

แม้ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบายของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 อยู่ในระดับ ที่สามารถควบคุมได้ โดย โควิด-19 สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ XBB.1.9.2 เป็นส่วนใหญ่ เมื่อช่วงราวกลางปี 2566 ที่ผ่านมาก็มีข่าวการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์อาร์คทูรัส (Arcturus) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนด้วยเช่นกัน
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวลือถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ของ โอมิครอน คือ JN.1 ที่จะแพร่ระบาดแทนสายพันธุ์อื่น หลังพบการระบาดแล้วกว่า 51 ประเทศทั่วโลก โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงการระบาดของ โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอาการคล้ายคลึงกับโควิด-19 และโรคไข้เลือดออก

สาเหตุการติดต่อของโรคโควิค-19 สายพันธุ์ย่อย JN.1
โควิด-19 สายพันธุ์ย่อย JN.1 พบครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา และระบาดในอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยในเอเชียเองประเทศที่มีระบาดอย่างหนัก คือ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นลูกของสายพันธุ์ BA.A2.86 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจ เนื่องจากแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โปรตีนหนามเปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำให้สามารถหลบระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนก็ยังคงป้องกันและลดอัตราการเสียชีวิตได้อยู่

แม้การระบาดอาจมีความรุนแรงอาจจะไม่เท่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ก็ยังคงความร้ายแรงหากติดเชื้อไวรัสแล้วเช่นกัน โดยโควิด-19 สายพันธุ์ย่อย JN.1 มีการพบเชื้อในน้ำเน่าเสีย บ่อเกรอะ ซึ่งมีสิ่งปฏิกูล เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ทำให้สงสัยว่าจะสามารถแพร่เชื้อไปเกาะในลำไส้ และเกิดอาการเกี่ยวเนื่องกับระบบทางเดินอาหารได้ จากเดิมที่โควิด-19 สายพันธุ์อื่นๆ มักพบเชื้อแค่ที่ปอด และมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจส่วนบนเพียงอย่างเดียว

อาการของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ย่อย JN.1
1. มีไข้
2. ไอแห้ง รู้สึกเจ็บคอ
3. ปวดเมื่อยตามตัว
4. ปวดศีรษะ เหมือนโรคทางเดินหายใจ
5. มีน้ำมูก
โดยโควิด-19 สายพันธุ์ย่อย JN.1 มีอาการคล้ายกับสายพันธุ์เดิมที่แพร่ระบาดก่อนหน้า แต่ติดต่อได้ง่ายขึ้นและแพร่กระจายได้รวดเร็วขึ้น แม้เป็นแล้วก็สามารถเป็นซ้ำได้อีก

การป้องกันโรคโควิด-19 สายพันธุ์ย่อย JN.1
ในปัจจุบันแม้โควิด-19 จะถูกประกาศให้เป็นโรคประจำท้องถิ่นตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุขแล้ว แต่ภาครัฐเองก็ยังคงแนะนำให้ประชาชนควรป้องกันและเฝ้าระวัง รวมถึงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. เฝ้าระหวังในกลุ่มเปราะบาง 608 ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน มะเร็ง และหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. สวมใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
3. หากพบอาการต้องสงสัย ให้ตรวจ ATK เพื่อตรวจหาเชื้อเบื้องต้น และหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้กลุ่มเสี่ยง 608 การไปในสถานที่เสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และควรพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ

ข้อมูลอ้างอิง:
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “กรมควบคุมโรค เผย 3 โรคระบาด ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2567 พร้อมเตรียมรับมือและเน้นย้ามาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด” (10 มกราคม 2567) [ระบบออนไลน์].
https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=39881&deptcode=brc
ไทยรัฐออนไลน์ “โควิดสายพันธุ์ใหม่ JN.1 ติดง่ายแพร่เร็ว พบในน้าเน่าเสีย ระวังเชื้อลงลาไส้” (11 มกราคม 2567) [ระบบออนไลน์].
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2754510