โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) หรือในชื่อไทยคือ “โรคสั่นสันนิบาต” คือ ความเสื่อม ของสภาพของสมองส่วนกลางและระบบประสาท พบได้มากรองจากโรคอัลไซเมอร์ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักมีอายุ 65 ปีขึ้น หรือผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้วิงเวียนศีรษะ แก้มึนงง ยารักษา ความผิดปกติทางจิตบางชนิด ยากล่อมประสาท เป็นต้น หรือเกิดจากความผิดปกติในสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดในสมองแตก เนื้องอกในสมอง หรือเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ โดยสาเหตุ ของโรคพาร์กินสันยังไม่ทราบแน่ชัดและยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการ ให้ทุเลาลงหรือไม่ลุกลามไปที่ส่วนอื่นของร่างกาย
อาการของโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันแบ่งอาการได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ความผิดปกติที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น
1. อาการสั่น เช่น มือสั่น ใช้มือไม่คล่อง แม้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น เปิดฝาขวด เขียนหนังสือ หรือมีอาการมือสั่นในขณะอยู่นิ่งแต่เมื่อเคลื่อนไหวแล้วอาการสั่นหายไป
2. เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง
3. กล้ามเนื้อมีอาการแข็งเกร็ง บางครั้งอาจปวดหรือเกิดตะคริว พูดเสียงเบาลง ไม่ค่อยกระพริบตา พูดเสียงเบาลง กลืนไม่คล่อง สำลักน้าหรือน้ำลายได้ง่าย
4. การทรงตัวและการเคลื่อนไหวผิดปกติ ท่าทางการเดินไม่ปกติ ก้าวขาไม่ค่อยออก หมุนกลับลำตัวลำบาก
ความผิดปกติที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น
1. ประมวลความคิดได้ช้าลง ความจำไม่ดี
2. มีภาวะซึมเศร้า
3. นอนหลับไม่สนิท นอนละเมอ หรือหากมีอาการรุนแรงอาจมีการออกท่าทางระหว่างละเมอ
4. ท้องผูก
5. จมูกดมกลิ่นไม่ค่อยได้ หรือได้กลิ่นลดลง
6. หลังค่อม ตัวงุ้มลง
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน
ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันมักใช้วิธีการซักประวัติและตรวจร่างกาย ซึ่งมักจะทำโดยแพทย์ ผู้มีความเชี่ยวชาญทางโรคโดยเฉพาะ โดยการวินิจฉัยจะทำเพื่อแยกว่าเป็นโรคพาร์กินสันแท้หรือเทียม เนื่องจากมีผู้ป่วยในกลุ่มอาการที่คล้ายกันแต่เป็นผลจากการทานยารักษาโรคเวียนศีรษะ ยานอนหลับ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคน้ำเกินในโพรงสมอง หรือภาวะไทรอยด์ต่ำส่งผลให้เกิดอาการพาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism) และสามารถวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในกรณีที่รอยโรคไม่ชัดเจน เช่น
– การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
– การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
– การตรวจ PET Brain F-Dopa เป็นการตรวจการทำงานของสมองตรวจวัดความผิดปกติของ สารโดปามีนในสมอง

ข้อมูลอ้างอิง:
โรงพยาบาลกรุงเทพ Bangkok International Hospital, “พาร์กินสัน กระตุ้นสมองควบคุมการรักษาได้” (2567).
https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/disease-treatment/known-parkinson
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, “โรงพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม” (8 เมษายน 2565).
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/parkinsons-disease
โรงพยาบาลพญาไท, “อาการสั่นจ จากพาร์กินสัน อันตรายหรือไม่?” (16 กันยายน 2565).
https://www.phyathai.com/th/article/3950-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B
8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1?gad_source=1&gclid=CjwKCAjw9IayBhBJEiwAVuc3fjmEP-7-A8xpGenhTDHfDPZWXb9KFsEjD5_pG93BQfny6naNclHc6hoCK7wQAvD_BwE