โรคลมชัก

โรคลมชัก (Epilepsy) คือ ภาวะคลื่นไฟฟ้าในสมองเกิดความผิดปกติทำให้เกิดอาการชัก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติในเนื้อสมองจากโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง มีแผลหรือเลือดออกในสมอง หรือป่วยด้วยโรคตับ ไต มีภาวะความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงการใช้ยาหรือได้รับสารพิษบางชนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็อาจส่งผลให้ต่อสมองจนเป็นสาเหตุของโรคลมชักได้เช่นกัน
อาการของโรคลมชัก
โรคลมชักมีสัญญาณบ่งบอกและอาการมักจะแตกต่างกันไปตามประเภทและความรุนแรงของโรค โดยแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. อาการชักแบบรู้ตัว มักเป็นอาการที่แสดงออกโดยที่ผู้คนรอบข้างเองก็สามารถสังเกตถึง ความผิดปกติได้ เช่น
– ชักเกร็ง
– แขนขากระตุก
– มีอาการชาที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง
– แขนขาชาด้านใดด้านหนึ่ง หรือมีเคลื่อนไหวผิดปกติ
– ตาพร่า เห็นแสงระยิบระยับ
2. อาการชักแบบไม่รู้ตัว มักจะเกิดอาการร่วมกับการกระทาหรือพฤติกรรมบางอย่างโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว เช่น
– เคี้ยวปาก
– เคลื่อนไหวตัวแบบไร้จุดหมาย เช่น เดินไปเดินมา พูดคำเดิมซ้ำๆ
– มีอาการชักเกร็ง กระตุกทั้งตัว
3. อาการชักวูบหมดสติทันที แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อขณะเกิดอาการได้ ผู้ป่วยล้มพับหรือหกลมฉับพลันจนอาจเกิดอาการบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย
4. อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) สามารถแบ่งอาการได้ 3 ระยะ ดังนี้
– ระยะเกร็ง ผู้ป่วยมักหมดสติอย่างรวดเร็ว ล้มพับ มีอาการเกร็งทั้งตัว ตาเหลือก กัดฟัน หากอาการรุนแรงอาจหยุดหายใจชั่วคราว
– ระยะกระตุก มักมีอาการแขน-ขากระตุกเป็นจังหวะ กัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม น้ำลายไหลเป็นฟองร่วมกับอาการหยุดหายใจ 2 – 3 นาที และสังเกตผู้ป่วยอาจมีอาการเขียวบนผิวหนัง
– ระยะหลังชัก เริ่มหายใจเอง รู้สึกตัว สับสนชั่วคราว อ่อนเพลีย อาจมีอาการอาเจียน อุจจาระหรือปัสสาวะราด
โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะหลับและตื่น ความถี่ในการเกิดจะแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้น เช่น พฤติกรรมการนอน สุขภาพ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายอย่างหนัก สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคลมชัก
นอกจากการซักประวัติโดยแพทย์แล้ว การพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคและตรวจร่างกายเพิ่มเติมนั้นมีความสำคัญและเพื่อช่วยแยกโรคและสาเหตุการเกิดเพื่อสำหรับวางแผนการรักษาต่อไป ได้แก่
– เจาะเลือด บางรายอาจจำเป็นต้องตรวจน้ำไขสันหลังร่วมด้วย
– การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan)
– การตรวจด้วยการสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI)
– การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

ข้อมูลอ้างอิง:
โรงพยาบาลรามคาแหง, “โรคลมชัก (epilepsy) เกิดจากการมีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติในสมอง”
(23 กุมภาพันธ์ 2567)
https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/612
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, “ทาความรู้จักกับโรคลมชัก” (26 มีนาคม 2564)
https://chulalongkornhospital.go.th