ตับ

ตับ คือ อวัยวะที่พบได้ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในร่างกายมนุษย์ตับจะวางตัวอยู่ในช่องท้องซีกขวาบนใต้ตำแหน่งของกระบังลม ทำหน้าที่ผลิตโปรตีนและฮอร์โมนบางชนิดที่จำเป็นต่อการย่อยอาหาร รวมถึงขจัดของเสียออกจากเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และสร้างสารอาหารที่จำเป็น ดังนี้
1. สร้าง อัลบูมิน (Albumin) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งพบมากในพลาสมา (Plasma) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงฮอร์โมน วิตามิน และเอนไซม์สำคัญไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และสร้างน้ำดี (Bile) ทำหน้าที่ในการย่อยไขมันและดูดซึมไขมันในลำไส้เล็ก
2. ควบคุม กรดอะมิโน (Amino Acids) และกักเก็บระดับกรดอะมิโนในเลือดให้อยู่ในปริมาณ ที่เหมาะสมในกระบวนการสร้างโปรตีนและควบคุมการแข็งตัวของเลือด (Blood Clotting) ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างลิ่มเลือด และการห้ามเลือด
3. รักษา วิตามิน แร่ธาตุ เช่น วิตามิน เอ ดี อี เค บี 12 ธาตุเหล็ก และทองแดง ไว้ใช้ในยามจำเป็น และรักษาระดับน้ำตาลกลูโคสส่วนเกินในเลือดไว้ในรูปแบบไกลโคเจน เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน อย่างรวดเร็ว ตับจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนไกลโคเจนที่เก็บไว้กลับมาเป็นน้ำตาลกลูโคสให้ร่างกายได้นำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป
4. กรอง เลือดและเชื้อโรค ไม่ใช่แค่ไตที่ทำหน้าที่กรองของเสีย แต่ตับเองก็ยังมีอีกหนึ่งหน้าที่นอกจาก 3 ข้อข้างต้นแล้ว ยังทำหน้าที่ในการกรองสารพิษและของเสียต่างๆ ออกจากเลือดที่มาจากกระเพาะอาหารและลำไส้ส่งไปยังระบบขับถ่าย เช่น แอมโมเนีย แอลกอฮอล์ คาร์บอนเตตราคลอไรด์ และคลอโรฟอร์ม นอกจากนี้ยังกรองเชื้อโรคและแบคทีเรียที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายออกจากเลือดอีกด้วย

ตับและตับอ่อน ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร
แม้ตับและตับอ่อนจะมีชื่อคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งใกล้กัน แต่กลับมีหน้าที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยหน้าที่ของตับมีหลักการทำงานตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว แต่ตับอ่อนนั้นมีส่วนสำคัญในการผลิตเอนไซม์สำหรับย่อยอาหารโดยหลั่งน้ำย่อยเข้าไปในลำไส้เล็กผ่านท่อตับอ่อน ซึ่งเอนไซน์ดังกล่าวจะย่อยสลายไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงสร้างฮอร์โมนอินซูลินและกลูคาร์กอนซึ่งทาหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

โรคอะไรบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้กับ “ตับ”
ตับเป็นอวัยวะที่ทำงานหลายอย่างและมีความซับซ้อน แต่หากตับได้รับความเสียหายหรือเกิดผลกระทบที่ทำให้ตับไม่สามารถทางานได้ตามปกติ ย่อมส่งผลเสียต่อการผลิตฮอร์โมนและสารต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับขึ้นได้
1. โรคตับที่เกิดจากการบริโรคสิ่งเป็นพิษต่อตับ เช่น จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การรับหรือสัมผัสสารเคมีบางชนิด การใช้ยาเกิดขนาดหรือผิดวัตถุประสงค์ซึ่งส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้นในการขับสารพิษออกจากเลือด
2. โรคตับที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ภาวะเหล็กเกิน หรือภาวะทองแดง คั่งในร่างกาย
3. โรคตับจากระบบภูมิคุ้มกันปกติ เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ และเซลล์ในตับ เช่น โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน โรคท่อน้ำดีอักเสบชนิดปฐมภูมิ
4. โรคตับจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี และ ดี ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคตับแข็ง นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับที่อาจส่งผลให้ท่อน้ำดีอักเสบ
5. โรคมะเร็งตับ เกิดความผิดปกติของเซลล์ในตับ รวมถึงปัจจัยจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จนทำให้เซลล์เสียหายและเกิดโรคมะเร็งตับขึ้นในที่สุด

ข้อมูลอ้างอิง
โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา, “ทาความเข้าใจหน้าที่ตับ พร้อมทริครับตับ 7 ประการ” (2567)
https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/gastrointestinal-liver-th/understand-your-liver/
BHRC, “ตับอ่อน (Pancreas)” (2567)
https://www.bangkokhealth.com/articles/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-pancreas/