โรคตับแข็ง

โรคตับแข็ง (Cirrhosis) คือ ภาวะที่ตับมีเนื้อเยื่อพังผืดส่วนเกิดก่อตัวขึ้น ส่งผลให้การอาการ ตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ โรคที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับตับ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง หรือไขมันคั่งในตับ เป็นต้น ซึ่งตามปกติแล้วตับจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่เมื่อตับมีความผิดปกติจะทำให้กระบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อสะสมจนเกิดเป็นโรคตับแข็ง ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งยังเป็นเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับได้อีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดโรคตับแข็ง
1. การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดโรคตับแข็งได้มากที่สุดสาเหตุหนึ่ง
2. โรคอ้วน
3. ไวรัสตับอักเสบ
ระยะของโรคตับแข็ง
โรคตับแข็งแบ่งอาการป่วยออกได้ 3 ระยะ ดังนี้
– ระยะที่ 1 เป็นระยะขั้นต้นที่ยังมีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย ซึ่งสังเกตอาการได้ยากเพราะมักเป็นอาการเริ่มต้นของการป่วยในหลายๆ โรค
– ระยะที่ 2 เริ่มมีอาการคันตามผิวหนัง ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือดีซ่าน ท้องมาน ตัวบวม
– ระยะที่ 3 อาการท้องมานรุนแรงขึ้น อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงจนผิดปกติ และมีอาการโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ภาวะติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง เส้นเลือดขอดในหลอดอาหารและกระเพาะอาหารแตก ไตวายจากโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
อาการของโรคตับแข็ง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น โรคตับแข็งมีระยะของอาการที่สามารถสังเกตได้ 3 ระยะ แต่อาการโดยทั่วไปที่สามารถสังเกตได้และเข้าข่ายเสี่ยงป่วยด้วยโรคตับแข็งมีดังนี้
1. ตัวเหลือง ตาเหลือง
2. ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติ
3. ผิวสีเข้มขึ้น
4. ท้องมีขนาดใหญ่ขึ้นจากภาวะท้องมาน
5. ต่อมน้ำลายที่บริเวณกรามทั้งสองข้างโต
6. เพศชายอาจพบว่าลูกอัณฑะมีขนาดเล็กลง และเต้านมโตขึ้น
7. มีจ้ำแดงบริเวณฝ่ามือทั้งสองข้าง
8. เห็นเส้นเลือดบริเวณสะดือขยายได้อย่างชัดเจน และอาจได้ยิ่งเสียงฟู่ในบริเวณเดียวกัน
9. ตับและม้ามโต
การวินิจฉัยโรคตับแข็ง
โรคตับแข็งในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจเลือดหรือ การตรวจสุขภาพ ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจวิเคราะห์เพื่อหาร่องรอยความผิดปกติของตับได้ดังนี้
1. การตรวจในห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจสารบิลิรูบิน เอ็นไซม์ตับชนิดต่างๆ การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบ การตรวจการแข็งตัวของเลือด ปริมาณโปรตีนไขขาวในเลือด เพื่อดูประสิทธิภาพในการสังเคราะห์โปรตีนของตับ
2. การตรวจวัดปริมาณพังผืดในตับ เพื่อตรวจวัดระดับความแข็งของตับซึ่งบ่งบอกถึงปริมาณการสะสมพังผืดในตับ อีกทั้งยังสามารถตรวจวัดปริมาณไขมันที่สะสมในตับได้อีกด้วย
3. การวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์ ได้แก่การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งจะสามารถดูรูปร่างและความยืดหยุ่นของตับได้
4. วิธีอื่นๆ เช่น การตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งปัจจุบันมีวิทยาการทางการแพทย์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถให้ผลได้อย่างแม่นยำมากกว่าเข้ามาทดแทน แต่ทั้งนี้หากผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคตับได้ วิธีการตรวจชิ้นเนื้อก็ยังคงเป็นวิธีที่สามารถช่วยหาสาเหตุได้อีกวิธีการเช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิง:
โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอนแก่น, “โรคตับแข็ง (Liver Cirrhosis)”, [2567]
https://www.bangkokhospitalkhonkaen.com/th/article/1638502959
MedPark Hospital, “โรคตับแข็ง”, [2567]
https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/cirrhosis-2