นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
นอนไม่หลับ หลายคนอาจมองว่าไม่ใช่ความผิดปกติ แต่ทราบหรือไม่ว่าหากมีภาวะนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและสะสมจนเกิดเป็นอาการป่วยอื่นๆ ตามมาได้
อาการนอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง?
โดยปกติแล้วหากถึงเวลาพักผ่อนแต่ใช้เวลาในการนอนหลับมากกว่า 30 นาที อาจกำลังเสี่ยงเกิดอาการนอนไม่หลับ หรือ โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ซึ่งอาการนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุเหล่านี้
1. มีโรคประจำตัว
2. ความเครียด ความวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
4. การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน นิโคติน หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป
5. ความอ่อนเพลียจากกิจกรรมประจำวันหรือการออกแรงมากกว่าปกติ
6. ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด เป็นต้น
7. ความผิดปกติในการนอนหลับ เช่น นอนกรนมากผิดปกติ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น
8. ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนผิดปกติ เป็นต้น
พฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการไม่หลับมีแบบใดบ้าง?
1. หลับยาก โดยใช้เวลาในการนอนหลับมากกว่า 30 นาที
2. ตื่นบ่อย ไม่สามารถนอนหลับยาวในการนอนครั้งเดียวได้
3. หลับๆ ตื่นๆ หรือ ตื่นกลางคันบ่อยและไม่สามารถนอนหลับต่อได้
นอนไม่หลับ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?
1. ขอบตาหมองคล้ำ
2. รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
3. อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์ไม่คงที่
4. รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา หรืองีบหลับระหว่างวันบ่อย
5. ผิวหน้าหมองคล้ำ ไม่สดใส อิดโรย
6. สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนงง ขาดสมาธิ
7. รู้สึกคลื่นไส้ ปวดหัว ท้องผูกหรือท้องเสียบ่อยครั้ง
นอนไม่หลับเป็นประจำ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
1. มีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้ง่ายขึ้น
2. เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ
3. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
4. ระบบย่อยอาหารและเผาผลาญผิดปกติ
5. มีผลต่อการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูของร่างกาย เนื่องจาก Growth Hormone ซึ่งทำหน้าที่ในการซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอจะหลั่งในเวลานอนตอนกลางคืน ซึ่งเมื่อเวลานอนเปลี่ยนก็จะกระทบต่อการหลั่งของฮอร์โมนทำให้กระบวนการซ่อมแซมร่างกายหยุดชะงัก ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายตามมา
ข้อมูลอ้างอิง
โรงพยาบาลพญาไท, “การนอนหลับสนิทอย่างเพียงพอ คือการต่ออายุสุขภาพกายและใจ” (26 ตุลาคม 2564).
https://www.phyathai.com/th/article/3630-%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A_%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88NK SLEEPCARE, “อาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายที่มีผลต่อสุขภาพ” (2567).
https://www.nksleepcenter.com/insomnia-causes/