ภาวะท้องมาน

ภาวะท้องมาน (Ascites) คือ ภาวะที่มีของเหลวสะสมในช่องท้องเกิดกว่าปริมาณปกติ ส่งผลให้ท้องขยายจนมีขนาดใหญ่ขึ้น สาเหตุหลักๆ เกิดจากโรคตับแข็ง รวมถึงภาวะความผิดปกติในตับอย่างรุนแรง แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นด้วยเช่นกัน
สาเหตุของการเกิดภาวะท้องมาน
1. โรคที่เกิดขึ้นบริเวณตับ เช่น ตับแข็ง ไขมันคั่งตับ
2. โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน รังไข่ มดลูก
3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
4. เชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ซี ลิ่มเลือดในหลอดเลือดตับ
5. ภาวะหัวใจล้มเหลว เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
6. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
7. ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
8. วัณโรค
9. ภาวะไฮโปไทรอยด์
10. สาเหตุอื่นๆ เช่น ขาดสารอาหาร หลอดเลือดใหญ่ในตับอุดตัน เป็นต้น
อาการที่สามารถสังเกตได้เมื่อมีภาวะท้องมาน
1. ท้องบวมโต มีขนาดใหญ่กว่าปกติจนสังเกตได้
2. รู้สึกแน่นท้อง ผู้ป่วยบางรายที่มีปริมาณน้ำในท้องมากอาจหนังท้องปริและมีน้ำซึมบริเวณหน้าท้อง ส่งผลให้รู้สึกหายใจไม่อิ่มเนื่องจากของเหลวในช่องท้องไปเพิ่มแรงดันต่อกระบังลม หรือ เกิดภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
3. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. คลื่นไส้ อาเจียน
5. เบื่ออาหาร
6. มีอาการป่วยแทรกซ้อนจากโรคตับ เช่น ตัวเหลืองดีซ่าน ฝ่ามือแดง เป็นต้น
การวินิจฉัยภาวะท้องมาน
โดยปกติแพทย์จะทาการซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการ และดูความบวมของท้อง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อประเมินอาการของผู้ป่วยเพิ่มเติมและ วางแผนการรักษาได้ เช่น
1. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
2. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
3. อัลตร้าซาวด์
4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ การตรวจการทางานของตับและไต เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง
โรงพยาบาลเพชรเวช, “ท้องมาน เมื่อการทางานของตับผิดปกติ ส่งผลให้พุงใหญ่คล้ายตั้งครรภ์ (12 พฤษภาคม 2565)
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Ascites-liver-Function-Abnormal-Result-Large-Belly-like-Pregnant
POBPAD, “ท้องมาน” (2567)
https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99