ในการตรวจสุขภาพประจำปี ช่องท้องส่วนล่างก็ถือเป็นอีกส่วนตรวจที่มักพบอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไปด้วย โดยช่องท้องส่วนล่างจะอยู่บริเวณต่ำกว่าสะดือเป็นต้นไป โดยอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งนี้จะเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่าย ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ ไส้ติ่ง เป็นต้น และระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ มดลูก ต่อมลูกหมาก เป็นต้น
การตรวจหารอยโรคในช่องท้องส่วนล่างเหมาะกับใครบ้าง ?
การตรวจสุขภาพช่องท้องส่วนล่างสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แต่เมื่อถึงช่วงอายุหนึ่งการตรวจ ช่องท้องส่วนล่างเพื่อสำรวจว่าอวัยวะยังสามารถทางานได้อย่างปกติ หรือตรวจหาร่องรอยของโรค ที่อาจเกิดการลุกลามในอนาคตก็ถือเป็นการเตรียมตัวและป้องการเกิดโรคได้อีกทางหนึ่ง
1. ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยในวัยนี้อวัยวะมักเริ่มพบความเสื่อมได้ทั้งเพศชายและหญิง
2. มีอาการผิดปกติบริเวณช่องท้อง เช่น ปวดท้องเรื้อรัง ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติเป็นประจำ หรือประจำเดือนมาผิดปกติในเพศหญิง
3. มีความผิดปกติในระบบขับถ่าย
4. มีความผิดปกติในระบบย่อยอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด เป็นต้น
อวัยวะในช่องท้องส่วนล่างที่ตรวจพบโรคได้บ่อย และสามารถตรวจได้ด้วยการตรวจ MRI
1. กระเพาะปัสสาวะ โรคที่สามารถพบได้คือโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยพบอาการของโรคนี้ในเพศหญิงมากกว่าเพราะมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าเพศชาย ทำให้เชื้อโรคต่างๆ สามารถเข้าไปในท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่า แต่ก็สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน ได้แก่ พฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อย มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือระบบโครงสร้างกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปกติ เป็นต้น อาการที่สามารถสังเกตได้ คือ ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอย รู้สึกแสบหรือขัดเวลาปัสสาวะ มีเลือดปนในปัสสาวะ
2. ไส้ติ่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร หน้าที่ของไส้ติ่งยังเป็นที่แน่ชัดแต่สันนิษฐานว่า อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคุ้มกันและสะสมเชื้อแบคทีเรียที่ช่วยในระบบย่อยอาหาร โรคที่ได้คือโรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ติ่งแตก ซึ่งเกิดจากการอุดตันในโพรงของไส้ติ่งจนเกิดการบวมและอักเสบ อาการของ โรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ติ่งแตกที่สามารถสังเกตได้คือ ปวดท้องตรงกลางบริเวณสะดือในระยะเริ่มต้น และเมื่อมีการอักเสบจะปวดที่ตำแหน่งท้องน้อยด้านขวา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ หากไม่ได้รับ การวินิจฉัยจนเกิดระยะที่ไส้ติ่งแตกอาจทาให้ไส้ติ่งแตก เกิดการติดเชื้อในช่องท้องหรือกระแสเลือดและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
3. มดลูก เป็นอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ตัวมดลูก ปีกมดลูก และปากมดลูก ทำหน้าที่ในการรองรับไข่จากรังไข่ที่ผสมกับสเปิร์มในกระบวนการฝังตัวอ่อน ที่จะพัฒนาไปเป็นทารก รวมถึงฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโตรเจน และ โพรเจสเทอโรน โรคที่พบได้ในมดลูกนั้นมีหลายโรค เช่น โรคช็อคโกแลตซีสต์ พบได้ในเยื่อบุโพรงมดลูกที่ลอกออกในช่วงที่เป็นประจำเดือนแต่มีเนื้อเยื้อและเลือดบางส่วนที่ขับออกไม่หมดและย้อนกลับไปยังท่อนาไข่จนเกิดเป็นก้อนเลือดค้างอยู่ภายในคล้ายช็อคโกแลต ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเรื้องรังเมื่อมีประจำเดือน ท้องอืด แน่นท้อง ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ มีเลือดปนเวลาปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดโรคเนื้องอกในมดลูก หรือโรคมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย
4. ต่อมลูกหมาก เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ในเพศชาย อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำหน้าที่ผลิตของเหลวและนำส่งเชื้ออสุจิในขณะเกิดการหลั่ง รวมถึงฮอร์โมนบางชนิด โรคที่สามารถพบได้คือ โรคต่อมลูกหมากโต มักพบได้มากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยต่อมลูกหมากจะค่อยๆ โตขึ้นจนไปกดทับท่อปัสสาวะจนทาให้เกิดอาการปัสสาวะติดขัด สังเกตอาการได้โดยปวดปัสสาวะกลางดึกบ่อยขึ้น สายปัสสาวะไม่พุ่ง ไหลช้า หรือไหลแบบกะปริบกะปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ รู้สึกปัสสาวะได้ไม่สุด โดยโรคต่อมลูกหมากโตไม่ใช่อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากเกิดการผิดปกติจนเกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะและทาลายเนื้อเยื่อปกติจนลุกลามกลายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ข้อมูลอ้างอิง:
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคสุดแสบของชาวออฟฟิศ” (29 กรกฎาคม 2564).
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/cystitis
โรงพยาบาลขอนแก่น ราม, “ปวดท้องอย่างไร เป็นไส้ติ่งอักเสบ – Appendicitis” (2567).
https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/surg/appendicitis
โรงพยาบาลเพชรเวช, “มดลูกและรังไข่ ศูนย์กลางของความเป็นผู้หญิง” (2 มีนาคม 2563).
https://www.petcharavejhospital.com/en/Article/article_detail/uterus-ovary-care
นพ.สุธี อุ้มปรีชา, โรงพยาบาลพระรามเก้า, “มะเร็งต่อมลูกหมาย ภัยเงียบของชายวัยทอง ตรวจพบเร็ว รักษาหายได้” (1 กุมภาพันธ์ 2567)
https://www.praram9.com/prostate-cancer/