โรคปอดบวม (Pneumonia) เกิดจากการที่ปอดเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ เกิดได้จากทั้ง ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พบได้มากในเด็กและผู้สูงอายุ โดยโรคปอดชื้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูและมักพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูหนาวซึ่งมีอากาศเย็นกว่าปกติ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อระหว่างบุคคลได้อีกด้วยไม่ว่าจะผ่านทางจมูก ลำคอ เป็นต้น โดยเชื้อดังกล่าวมีระยะเวลาฟักตัว 1 – 3 วัน และอาจมีอาการต่อเนื่องนานถึง 7 สัปดาห์ในผู้ป่วยบางราย
สาเหตุการเกิดโรคปอดบวม
โรคปอดบวมเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ดังนี้
- เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา จนทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อ
- เกิดจากมลภาวะ เช่น การหายใจในพื้นที่ๆ มีฝุ่น ควัน หรือมีสารเคมีระเหยอยู่ในอากาศ ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจจนทำให้อักเสบได้
อาการของโรคปอดบวม
- ไอแบบมีเสมหะ
- มีไข้สูง เหงื่อออกมาก รู้สึกหนาวสั่น
- หายใจลำบาก
- เหนื่อยหอบง่าย
- รู้สึกเจ็บหน้าอกเมื่อหายใจหรือไอ
- ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้นกันบกพร่อง อาจพบมีอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าปกติ
- มีอาการซึม และสับสนในผู้สูงอายุ
การวินิจฉัยโรคปอดบวม
โดยปกติแล้วโรคปอดบวมสามารถวินิจฉัยอาการเบื้องต้นได้ด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายในเบื้องต้น นอกจากนี้ยังสามารถวินิจฉัยหารอยโรคได้ด้วยการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการจากตัวอย่างเลือดและเสมหะ (Swap) ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง :
MedPark Hospital, “โรคปอดบวม ปอดอักเสบ” (2567). https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/pneumonia
โรงพยาบาลเปาโล, “โรคปอดอักเสบ ปอดบวม” (2567). https://www.paolohospital.com/th-TH/phrapradaeng/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A-%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A1