โรคตับแข็ง

โรคตับแข็ง

โรคตับแข็ง (Cirrhosis) คือ ภาวะที่เกิดการก่อตัวของเนื้อเยื่อพังผืดส่วนเกินจากภาวะตับอักเสบเรื้อรัง เนื่องจากการซ่อมแซมตัวเองจนเกิดการสร้างพังผืดสะสมจนเกิดเป็นโรคตับแข็งนั่นเอง

สาเหตุของโรคตับแข็ง

โรคตับแข็งมักเกิดจากอาการป่วยเรื้อรังด้วยโรคอื่นๆ มาก่อน เช่น

  1. โรคพิษสุราเรื้อรัง
  2. โรคไขมันคั่งตับ ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์
  3. โรคเชื้อไวรัสตับอักเสบ B, C และ D
  4. โรคประจำตัว เช่น โรควิลสัน โรคซิสติกไฟโบรซิส ภาวะดีซ่านจากท่อน้ำดีอุดตัน ภาวะตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง เป็นต้น

หรือจากพฤติกรรมการบริโภคหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น

  1. การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  2. บริโภคอาหารประเภทของทอดและของมันเป็นประจำ มีโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะไขมันคั่งตับ
    ซึ่งมักพบได้มากผู้ป่วยโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน
  3. บริโภคอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) มักพบในอาหารแห้งที่มีการแปรรูปและ
    เก็บรักษาอย่างไม่ถูกวิธี เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กุ้งแห้ง ผักและผลไม้
    แปรรูป เป็นต้น
  4. การได้รับสารพิษที่มีผลต่อตับ เช่น การรับประทานยาบางชนิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

 

อาการของโรคตับแข็ง

โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการที่บ่งชี้ความเป็นโรคตับแข็งอย่างชัดเจน มักเป็นอาการ
ที่เกิดร่วมกับภาวะตับอักเสบอื่นๆ และจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อตับได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงแล้ว
ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  1. ตัวเหลือง ภาวะดีซ่าน ตาเหลือง มีปัสสาวะสีเข้ม
  2. น้ำหนักตัวลดลง
  3. มีสีผิวเข้มขึ้น
  4. รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
  5. มีอาการ ขา เท้า หรือข้อเท้าบวม
  6. มีอาการคันตามผิวหนัง
  7. ฝ่ามือแดงเป็นจ้ำทั้งสองข้าง
  8. ผู้ชาย อาจพบภาวะผิดปกติทางเพศ ลูกอัณฑะฝ่อ หรือเต้านมบวมโต
  9. ผู้หญิง อาจพบภาวะการหมดประจำเดือนหรือประจำเดือนขาด หรือมาไม่สม่ำเสมอก่อนวัยหมดประจำเดือน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง

  1. มีอาการท้องบวม ซึ่งเกิดจากภาวะน้ำสะสมในช่องท้องหรือภาวะท้องมาน
  2. ติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมักมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ไม่สามารถต้าน
    การติดเชื้อได้ ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว
  3. เกิดการพร่องโภชนาการ เนื่องจากดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง สังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่ลดลงและมีอาการอ่อนเพลีย
  4. เกิดภาวะไตวายจากโรคตับแข็ง เมื่อตับเกิดการเสื่อมสภาพส่งผลให้เกิด ‘ไนตริกออกไซด์’
    ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ดีในเซลล์ แต่หากมีสารชนิดนี้มากเกินไปจะส่งผลเสีย
    ต่อระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการบีบตัวของเส้นเลือด ซึ่งกระทบโดยตรงต่อเลือดที่ไปเลี้ยงไตได้น้อยลง
    ทำให้เกิดภาวะไตวายขึ้น
  5. เกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย เนื่องจากตับเสียหายไม่สามารถกำจัดสารพิษออกจากเลือดได้ โดยจะสังเกตจากการที่ปัสสาวจะมีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ
  6. โรคกระดูก ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะมีโอกาสพบภาวะโรคกระดูกเนื่องจากความหนาแน่น
    ของมวลกระดูกลดลง ซึ่งส่งผลให้กระดูกแตกหักได้สูงขึ้น
  7. โรคมะเร็งตับ

การวินิจฉัยโรคตับแข็ง

โดยปกติแพทย์มักจะซักประวัติเพื่อประเมินอาการของโรคในเบื้องต้น รวมถึงสืบถามพฤติกรรม สภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตเพื่อหาสาเหตุของโรค และการตรวจวินิจฉัยโรคโดยเทคโนโยลีทางการแพทย์

ได้ 3 วิธีที่นิยม ดังนี้

  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาร่องรอยความผิดปกติของตับ เช่น ระดับบิลิรูบิน
    ในเลือดเพื่อวินิจฉัยอาการดีซ่าน เอ็นไซน์ตับชนิดต่างๆ เพื่อคัดกรองไวรัสตับอักเสบ การแข็งตัว
    ของเลือด ปริมาณโปรตีนไขขาวในเลือด เพื่อดูความสามารถในการสังเคราะห์โปรตีนของตับ ซึ่งผลการตรวจเลือดจะมีส่วนช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคได้
  2. การตรวจภาพสมองโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
    (CT Scan) เพื่อดูรูปร่างของตับ ความยืดหยุ่นของตับเพื่อวินิจฉัยลักษณะของตับแข็ง
  3. การตรวจวัดปริมาณพังผืดในตับ เป็นการตรวจระดับความแข็งของตับซึ่งจะบ่งบอกถึงปริมาณการสะสมของพังผืด สามารถตรวจหาภาวะตับแข็งได้ตั้งแต่ในระยะแรก อีกทั้งยังสามารถตรวจหาปริมาณไขมันในตับได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจชิ้นเนื้อ แต่ในปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยมเนื่องจากมีเทคโนโลยี
ทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาขึ้นและมีความแม่นยำยิ่งกว่า จึงทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคตับแข็งได้
โดยไม่จำเป็นต้องเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อนำไปตรวจทางแล็ปวิทยา แต่ทั้งหากในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายไม่ได้สามารถระบุสาเหตุการเกิดโรคตับแข็งได้ ก็อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการนี้เพื่อตรวจคัดกรองอยู่เช่นกัน

 

ข้อมูลอ้างอิง:

MedPark Hospital “โรคตับแข็ง” (2566) [ระบบออนไลน์]

แหล่งที่มา https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/cirrhosis-2

 

โรงพยาบาลสมิติเวช “ตับแข็ง และภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย” (2566) [ระบบออนไลน์]

แหล่งที่มา https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ตับแข็ง