โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

   โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลาย ทำให้เกิดการนำกระแสประสาทลดลงและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง พบได้ทุกช่วงอายุแต่มักพบมากในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ระหว่างอายุ
20 – 40 ปี และผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ หากมีประวัติผู้เคยป่วยด้วยโรคดังกล่าวในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าโรคกล้ามเนื้อตา
อ่อนแรงมักจะมาคู่กับโรคไทรอยด์ถึงประมาณ 10-15% ดังนั้นผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทยรอยด์จึงควรสังเกตอาการว่ามีโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมด้วยหรือไม่

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  1. กล้ามเนื้อตาผิดปกติตั้งแต่กำเนิด อาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือสองข้าง แต่มักมีอาการคงที่ อาจมีสายตาเอียง หรือตาขี้เกียจร่วมด้วย
  2. กล้ามเนื้อตายืด เปลือกตาตกลงมาเนื่องจากอายุที่มากขึ้น จะพบได้บ่อยในคนที่มีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา เพราะมักมีพฤติกรรมการขยี้ตาบ่อยๆ คนที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นระยะเวลานาน และคนที่มีพฤติกรรมการนอนดึก
  3. เคยผ่าตัดตา 2 ชั้นผิดพลาดมาก่อน อาจส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงขึ้นได้ ซึ่งอาการอาจรุนแรงมากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับในแต่ละกรณี
  4. การหลั่งสารสื่อประสาท หรือเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ

อาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  1. หลับตาได้ไม่สนิท
  2. ตาปรือ เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ลืมตาขึ้นได้ไม่เต็มที่
  3. เบ้าตาดูลึก
  4. คิ้วสูงไม่เท่ากัน มีริ้วรอยที่หน้าผาก
  5. มีอาการโฟกัสภาพลำบากเมื่อจ้องหรือเพ่งสายตา
  6. มีอาการเห็นภาพซ้อน
  7. กรอกตาไม่ได้ ตาเหล่ผิดจากปกติ
  8. มักมีอาการในช่วงบ่าย หรือเมื่อใช้สายตาแล้วในระดับหนึ่ง

การทดสอบเบื้องต้นว่าเข้าข่ายป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือไม่

  1. Sleep Test ทดสอบโดยให้นอนหลับประมาณ 45 – 60 นาที และถ่ายรูปใบหน้าเพื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนนอน หลังนอน และหลังจากทำกิจกรรมประจำวันตามไปปกติไปสักระยะ หลังจากตื่นแล้ว
    ให้สังเกตว่าสามารถลืมตาได้ตามปกติหรือไม่ ตาโตเท่ากันทั้งสองข้างหรือไม่ อาการหนังตาตกกลับมา
    มากขึ้นในช่วงบ่ายหรือหลังทำงานหรือเปล่า หากมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนคือหลังตื่นนอนดวงตา
    ดูสดใส ลืมได้กว้างขึ้น แต่พออยู่ไปสักพักก็กลับมาหนังตาตก ตาหรี่แคบลง ก็น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นอาการบ่งชี้ของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  2. Ice Test หรือการประคบเย็น โดยวางน้ำแข็งหรือแผ่นทำความเย็นบนเปลือกตาขณะหลับตา ประมาณ 2 นาที แล้ววัดความกว้างของดวงตาว่าสามารถเปิดหรือลืมตาได้ดีขนาดไหน เมื่อเทียบกับ
    ก่อนทำ Ice Test ซึ่งหากทำในโรงพยาบาล หากความกว้างของดวงตาต่างกันตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไป
    ก็จะถือว่ามีผลบวก

ทั้งนี้หากการทดสอบทั้ง 2 วิธีและพบอาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอีก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย โดยการเจาะเลือดตรวจหาไทรอยด์ ตรวจภูมิคุ้มกันต่างๆ ตรวจดูกระแสไฟฟ้ากล้ามเนื้อ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจหาเนื้องอก
ต่อมไทมัส (Thymoma) และอื่นๆ ต่อไป