โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลงโป่งพอง หรือ โรคถุงลมปอดโป่งพอง (Pulmonary Emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) เกิดจากการหายใจเอามลภาวะที่เป็นพิษซึ่งอยู่ในรูปแบบก๊าซหรือ ฝุ่นเข้าไปเป็นระยะเวลานาน จนเกิดการอักเสบและทำลายระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ หลอดลม และปอด โดยส่วนมากมักเกิดร่วมกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหลอดลมอักเสบมากกว่า แต่บางรายอาจ มีอาการถุงลมปอดโป่งพองมากกว่า ทางการแพทย์จึงเรียกรวมว่า โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) จากข้อมูลทางสถิติโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในปี พ.ศ 2564 มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 8 ต่อปี ในกลุ่มผู้ป่วยโรค NCD (Non-communicable diseases หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) หรือในประชากร 100,000 คนจะพบผู้ที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวอย่างน้อย 1 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565)

สาเหตุการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง
ปัจจุบันโรคถุงลมโป่งพองไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากเพียงแค่การสูบบุหรี่ หรือเป็นผู้ที่รับควันบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอย่างเดียว มลภาวะทางอากาศในปัจจุบัน เช่น ฝุ่น PM 2.5 ก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทาให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม โดยมีสาเหตุหลักๆ ที่ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยง ดังนี้
1. การสูบบุหรี่ หรือการสูดดมควันบุหรี่ (บุหรี่มือสอง)
2. มลภาวะทางอากาศ เช่น ควันจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของไอเสียรถยนต์ ควันจากการเผาป่าหรือเผาขยะ ควันจากการทำอาหาร ฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น
3. ควันพิษหรือสารเคมีจากอุตสาหกรรม เช่น ฝุ่นละอองจากไม้ การทอฝ้าย ฝุ่นจากการทำเหมืองสินแร่ เป็นต้น
4. ถุงลมโป่งพองจากการขาดอัลฟ่า-1 เป็นโรคทางพันธุธรรมที่เกิดจากการขาดโปรตีนชนิดหนึ่ง เมื่อร่างกายพร่องเอนไซน์ จะส่งผลให้ถุงลมที่ปอดถูกทำลาย
อาการของโรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง โดยส่วนใหญ่มักมีอาการอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ อาการเหนื่อย โดยมักจะเป็นเหนื่อยหอบ หายใจตื้น หายใจลาบากในเวลาที่ออกแรงหรือทำงานหนัก หรือถ้ามีอาการหนักขึ้นแม้แต่ขณะพักก็จะมีอาการเหนื่อยได้ด้วยเช่นกัน และอีกอาการคือ อาการไอ มักจะไอเรื้อรัง โดยมักจะไอและมีเสมหะเล็กน้อยในตอนเช้าหลังตื่นนอน ทั้งนี้สามารถสังเกตเบื้องต้นได้ดังนี้
1. ไอเรื้อรัง
2. หายใจไม่อิ่ม มีเสียงวิ๊ด
3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
4. เล็บ และริมฝีปากมีสีเข้มขึ้น
5. เหนื่อยง่าย มีอาการหอบ
6. หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
1. ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ในรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากปอดถูกทำลายไปบางส่วนจึงทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเช่นเดิม
2. การติดเชื้อที่ปอด ทำให้เกิดอาการปอดบวม
3. ถุงลมที่พองตัวผิดปกติ ซึ่งสามารถพองตัวใหญ่ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของปอดและเพิ่มโอกาส ให้เกิดภาวะปอดแตกได้
4. ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ โดยโรคถุงลมโป่งพองสามารถทำให้ความดันโลหิตของหลอดเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้นได้ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว
แนวทางการวินิฉัยโรคถุงลมโป่งพอง

โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการซักประวัตผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการในเบื้องต้น ระยะเวลาการเกิดโรค รวมถึงสอบถามสภาพแวดล้อม ที่พักอาศัย และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หลังจากนั้นจะใช้เทคโนโลยี ทางการแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด ซึ่งสามารถทำได้ 4 วิธี ดังนี้
1. การเป่าเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เพื่อตรวจสมรรถภาพการทางานของปอด จากการวัดปริมาตรอากาศที่เข้าออกในปอด
2. การตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry)
3. การตรวจคลื่อนไฟฟ้าหัวใจ (ECG) โดยตรวจการทำงานของหัวใจ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีระบบการทำงานและอาการของโรคใกล้เคียงกัน และเพื่อให้แน่ใจว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการป่วย ด้วยโรคหัวใจ
4. การตรวจด้วยเคลื่อนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โดยเป็นการตรวจโดยใช้เครื่องเพื่อสร้างภาพตัดขวางของอวัยวะเพื่อเช็คความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้โดยละเอียด
5. การตรวจเสมหะ มักจะตรวจในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีการเกิดภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน ในผู้ป่วยบางราย