หากพูดถึงมลพิษทางอากาศ คนไทยส่วนมากมักนึกถึงฝุ่น PM 2.5 เป็นอันดับแรก เพราะนอกจากเป็นฝุ่นควันอันตรายแล้ว ยังเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคทางเดินหายใจมากมาย แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากฝุ่น PM 2.5 แล้ว ยังมีมลพิษทางอากาศประเภทอื่นที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์เช่นกัน
ฝุ่นละออง (Particulate Matter) คือ อนุภาคขนาดเล็กที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน ของเหลวหยดเล็ก เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นมลพิษทางอากาศประเภทหนึ่ง โดยฝุ่นละอองแบ่งประเภทตามขนาดอนุภาคได้ทั้งสิ้น 3 ประเภท ได้แก่
1. PM10 คือ ฝุ่นละอองที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 2.5 ถึง 10 ไมครอน โดยฝุ่น PM10 เป็นชนิดร่างกายของมนุษย์สามารถกรองได้ เช่น ฝุ่นที่จับตามข้าวของเครื่องใช้ ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นจากดิน ทราย หรือละอองน้ำ เป็นต้น
2. PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น เช่น สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น แบคทีเรีย เป็นต้น รวมถึงสารประกอบเคมี เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ตะกั่ว ซึ่งส่วนมากมักพบจากการเผาไหม้และเกิดควันขึ้นในอากาศ ซึ่งฝุ่นประเภทนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ และโรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น
3. Ultrafine Particulate (UFP) คือ ฝุ่นละอองที่มีอนุภาคละเอียดมาก มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.1 ไมครอน (10 ไมโครเมตร) ถือเป็นฝุ่นประเภทที่มีความอันตรายมากที่สุดเนื่องจากอนุภาค ที่เล็กมาก สามารถสะสมในอยู่ในส่วนลึกของปอด เช่น หลอดลมฝอย ถุงลม อีกทั้งสามารถดูดซึม เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง ทำให้ฝุ่นประเภท UFP สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
มลพิษทางอากาศที่มักพบได้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง?
มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
1. สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง เรามักจะได้ยินโรคภูมิแพ้จากสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สุนัข แมว หนู นก เป็นต้น ซึ่งโรคภูมิแพ้จากสัตว์ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ที่อยู่ในบ้านที่เลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น คนทั่วไปที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับสัตว์ก็สามารถเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นกัน เพราะสะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยงสามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศโดยที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากสูดดมเข้าไปแล้วก็อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจจนเกิดโรคได้ โดยสังเกตอาการได้จากการจาม น้ำมูกไหล คันตา ตาแดง น้ำตาไหล และคัดจมูก
3. เกสรดอกไม้ เราอาจเคยได้ยินว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตอบอุ่นมักจะเป็นโรคภูมิแพ้เกสรดอกไม้ เนื่องจากพืชที่ผลิดอกในจะปล่อยละอองเกสรสู่อากาศเพื่อให้เกสรเหล่านั้นลอยไปตามลมเพื่อไปผสมพันธุ์กับพืชชนิดเดียวกัน โดยเฉพาะในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเกสรของดอกไม้สามารถแทรกซึมเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน ซึ่งอาการของโรคมักจะคล้ายกับการแพ้สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง
4. เชื้อรา (Mold) เกิดจากสปอร์ของเชื้อราที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ มักพบได้ในบริเวณพื้นที่อับชื้น เช่น จุดที่มีน้ำรั่วในบริเวณผนังบ้าน หลังคา มุมอับในห้องน้ำ น้ำนิ่งในท่อระบายน้ำ พื้น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น รวมถึงอินทรียวัตถุ หรือซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วก็สามารถเกิดเชื้อราได้ โดยหากสูดดมหรือสัมผัสทางผิวหนังแล้วจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ เคืองตา คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ มีผื่นคันตามผิวหนัง
มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์
สารประกอบเคมี โดยมีทั้งสารเคมีที่พบได้ทั้งในอุตสาหกรรมและในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราอาจสูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยสารประกอบเคมีที่พบได้มากในชีวิตประจำวันยกตัวอย่างดังนี้
5. คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) คือ ก๊าซที่อยู่ในควันที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การเผาไม้ น้ำมันเชื้อเพลิง ถ่านหิน ถ่าน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น เป็นมลพิษที่ไม่สามารถมองเห็นได้ตาเปล่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ซึ่งหากสูดดมในปริมาณมากมักมีอาการปวดหัว หายใจถี่ รู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติทั้งที่ไม่ได้ทำกิจกรรมที่ออกแรงมาก คลื่นไส้
6. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นก๊าซอีกชนิดที่พบได้ในควันจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เอกลักษณ์ของก๊าซ SO2 คือมีกลิ่นฉุน ซึ่งพบได้มากจากควันของเชื้อเพลิงจากฟอสซิล และควันจากอุตสาหกรรม เช่น การถลุงแร่อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่ง SO2 ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝนกรดอีกด้วย หากมีอาการแพ้จะมีอาการคล้ายกับก๊าซ CO
7. โอโซน (O3) โดยปกติแล้วโอโซนคือก๊าซชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบได้ในชั้นสตราโทสเปียร์ (Stratosphere) หรือบรรยากาศชั้นที่ 2 ของโลก ซึ่งมีความสูง 10 – 50 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล มี
หน้าที่ในการกรองรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ แต่หากพบโอโซนในชั้นบรรยากาศที่มนุษย์อยู่อาศัยก๊าซดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสาคัญที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิพื้นที่ผิวโลกสูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งแหล่งกำเนิดโอโซนในชั้นบรรยากาศโลกที่สำคัญมักเกิดจากควันรถยนต์ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงกลั่น เป็นต้น
8. สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds : VOCs) เช่น อะซิทัลดีไฮด์ อะคริโล ไนไตร เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คลอโรฟอร์ม ไดคลอโรมีเธน ไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่พบได้รอบตัวทั้งจากของใช้ในชีวิตประจำวันหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สีทาบ้าน ควันบุหรี่ ละอองสีพ่นรถยนต์ ก๊าซบรรจุสเปรย์กระป๋อง น้ำยาฟอกสี น้ำยาซักแห้ง น้ำยาย้อมผม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก PVC ควันจากการเผาไหม้ต่างๆ เช่น รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งสาร VOCs มีคุณสมบัติระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย ทาให้ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ หากได้รับสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
นอกจากนี้ยังมีสารเคมีอื่นๆ ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เช่น แอมโมเนีย คลอรีน กรดไฮโดรคลอริก กรดกำมะถัน เป็นต้น
การป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศ
1. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือหากจาเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวควรมีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย ชุดป้องกัน เป็นต้น
2. จัดเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติระเหยได้ในที่มิดชิด อ่านวิธีการใช้งานบนฉลากกำกับและปฏิบัติตามคำแนะนำทุกครั้ง
3. หากเผลอสูดดมมลพิษหรืออยู่ในพื้นที่ที่มาการรั่วไหลของก๊าซ ควรรีบไปอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
ข้อมูลอ้างอิง:
IQAir, “10 มลพิษที่เป็นอันตรายที่สุดที่คุณหายใจทุกวัน” (18 สิงหาคม 2566).
https://www.iqair.com/th/newsroom/10-most-harmful-air-pollutants-youre-breathing-everyday
IQAir, “ซัลเฟอร์ไดออกไซด์” (22 กันยายน 2558).
https://www.iqair.com/th/newsroom/sulphur-dioxide
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี, “โอโซน” (2567).
https://www.finearts.go.th/chantaburilibrary/view/19973-%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%99
Sci Spec, “สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) คืออะไร” (15 มกราคม 2564).
https://www.scispec.co.th/learning/index.php/blog/chromatography/vocs-4
โรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ, “ชีวิตประจาวัน กับสารเคมีใกล้ตัว” (4 กรกฎาคม 2566).
https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/243
จระเข้, บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จากัด, “VOCs Emissions คืออะไร? อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?” (21 เมษายน 2566).
https://www.jorakay.co.th/blog/owner/other/what-is-vocs-emissions